
หลายๆท่านที่ใช้โปรแกรม Lightroom อาจจะยังไม่ทราบเราสามารถอัพโหลดภาพที่ผ่านการปรับแต่งของเราเข้าสู่เฟสบุ๊คได้โดยตรง โดยสามารถเลือกอัลบั้มที่จะให้ภาพใหม่ของเราเข้าไปอยู่ หรือสามารถสร้างอัลบั้มใหม่ก็ได้ โดยไม่ต้องมานั่งเสียเวลา Export ภาพ และเข้าเว็บไซต์เฟสบุ๊คเพื่ออัพโหลดภาพเลย เรามาดูวิธีการตั้งค่ากันครับกันครับ
1. ที่หน้า Library ในส่วนของ Publish Services จะเห็นโลโก้ของเฟสบุ๊ค ให้ดับเบิ้ลคลิ๊กเข้าไป เพื่อเข้าสู่ส่วนของการตั้งค่าในส่วนของ Lightroom Publishing Manager
Library > Publish Services
2. อันดับแรกเราต้องทำการเชื่อมโยงบัญชีเฟสบุ๊คของเรากับโปรแกรม Lightroom ก่อน เพื่อให้ Lightroom รู้ว่าจะอัพโหลดไฟล์ไปที่บัญชีเฟสบุ๊คอันไหน โดยการกดที่คำว่า “Authorize on Facebook” จากนั้นจะมีหน้าต่างอีกอันขึ้นมาก็ให้กด OK
เชื่อมโยงบัญชีเฟสบุ๊คกับ Lightroom
3. หลังจากกด OK แล้ว ก็จะมีหน้าต่างของเว็บไซต์เฟสบุ๊คเด้งขึ้นมา เพื่อแจ้งเตือนให้เราเชื่อมโยงบัญชีทั้งสองเข้าด้วยกัน เราก็กด “Continue”
ขั้นตอนการเชื่อมโยงบัญชีเฟสบุ๊คกับ Lightroom
4. หลังจากกด Continue แล้ว ก็ให้กด Continue as…(ชื่อแอคเคาท์ของคุณ) จากนั้นก็กด OK ไปเรื่อยๆ
ขั้นตอนการเชื่อมโยงบัญชีเฟสบุ๊คกับ Lightroom
จากนั้นก็กลับมาที่โปรแกรม Lightroom ก็จะมีป๊อบอัพสุดท้ายเด้งขึ้นมา ให้กด “Done” ก็จะเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเชื่อมโยงบัญชีทั้งสองเข้าด้วยกัน
เชื่อมโยงบัญชีเสร็จเรียบร้อย
5.จากนั้นก็จะเป็นส่วนของการตั้งค่า ซึ่งมีรายละเอียดปลีกย่อยเยอะ ลองมาดูกันครับ
- 1. Description : คือส่วนที่มีไว้ตั้งชื่อให้กับตัว Facebook public manager ตัวนี้ เนื่องจากโปรแกรม Lightroom จะสามารถอัพโหลดภาพได้แค่อัลบั้มเดียวต่อหนึ่ง Facebook public manager เพราะฉะนั้นหากอยากอัพโหลดภาพลงอัลบั้มใหม่ก็ต้องมาสร้าง acebook public manager อันใหม่
- 2. Facebook Account : จะบอกให้ทราบว่าเราใช้บัญชีเฟสบุ๊คอันไหน
- 3. Facebook Album : เป็นส่วนของการอัพโหลดภาพว่าจะให้ภาพของเราไปเก็บไว้ที่อัลบั้มไหน เราสามารถเลือกจากอัลบั้มภาพที่เรามี หรือจะสร้างอัลบั้มภาพใหม่ก็ได้ แต่หลังจากเรากด Save ไปแล้ว เราจะไม่สามารถกลับมาแก้ส่วนอัลบั้มภาพได้ครับ
- 5. File Naming : สำหรับเปลี่ยนชื่อของไฟล์ภาพของเรา
- 6. Video : ส่วนนี้สำหรับการอัพโหลดวีดีโอ ซึ่งเราสามารถเลือกฟอร์แมทของวีดีโอและคุณภาพของวีดีโอได้
- 7. File Settings : เป็นส่วนของการกำหนดคุณภาพของไฟล์ภาพของเรา รวมทั้งสามารถกำหนดว่าไฟล์ภาพที่จะอัพโหลดจะมีขนาดไฟล์เท่าไหร่ได้ด้วย (ตรง Limit File Size To)
- 8. Image Sizing : เราสามารถเลือกขนาดกว้าง ยาว ของภาพ ที่ต้องการให้อัพโหลดได้
- Width & Height : กำหนดขนาดทั้งความกว้างและยาว
- Dimension : กำหนดขนาดของภาพที่เป็นสัดส่วนกัน
- Long Edge : กำหนดขนาดเฉพาะด้านยาวของภาพ ว่าอยากให้ด้านยาวของภาพมีขนาดเท่าไหร่
- Short Edge : กำหนดขนาดเฉพาะด้านสั้นของภาพ ว่าอยากให้ด้านสั้นของภาพมีขนาดเท่าไหร่
- Megapixel : กำหนดขนาดของภาพตาม Pixel ที่ต้องการ
- Percentage : กำหนดขนาดของภาพเป็นเปอร์เซ็นต์
- 9. Output Sharpening : มีไว้สำหรับเลือกการ Sharpen ของภาพ ว่าเราต้องการให้ภาพมีความคมชัดแบบไหน
- Screen : สำหรับดูด้วยจอคอมพิวเตอร์
- Matte paper : สำหรับกระดาษโฟโต้แบบด้าน
- Glossy paper : สำหรับกระดาษโฟโต้แบบมัน
- Low : Sharpen น้อยๆ
- Standard : Sharpen แบบมาตราฐาน
- High : Sharpen มากๆ
- 10. Metadata : เราสามารถเลือกได้ว่าจะให้โปรแกรมฝัง metadata อะไรบ้างในภาพของเรา
- Copyright only : ให้ฝังเฉพาะ copyright ที่เราระบุไว้
- Copyright & Contact info only : ให้ฝังเฉพาะ copyright และข้อมูลของเรา
- All Except camera & Camara Raw info : ฝังทั้งหมดยกเว้นค่าต่างๆที่เกี่ยวกับการถ่ายรูป
- All metadata : ฝังทั้งหมด
- 11. Watermarking : เราสามารถใส่ลายน้ำของภาพเราในส่วนนี้ได้
ลองทำตามกันดูครับ แล้วจะพบว่าชีวิตง่ายขึ้นเยอะเลย 😁😁😁😁
0 responses on "วิธีการอัพโหลดภาพจาก Lightroom เข้า Facebook โดยตรง โดยไม่ต้องเข้าเว็บ"