เทคนิคการรวมดาวและแสงไฟในภาพแลนด์สเคป (Blending) ด้วย Photoshop

ปกติผมจะใช้เทคนิคนี้ก็ต่อเมื่อสภาพแสงส่วนมืดและส่วนสว่างมันต่างกันมากๆๆ จนสุดความสามารถของกล้องที่จะเก็บภาพได้ในช้อตเดียว ถ้าใครเคยถ่ายดาวจะรู้เลยว่า หากอยากให้ดาวให้สว่างพอดี ซึ่งมันจะต้องเปิดหน้ากล้องนาน แล้วดันมีแหล่งกำเนิดแสงเช่น บ้านคน หลอดไฟ อยู่ในเฟรม จะพบปัญหาแสงโอเวอร์อยู่บ่อยๆ

กล้องที่ Dynamic range น้อย หรือ สภาพแสงมีความเปรียบต่างระหว่างส่วนมืดกับส่วนสว่างมากๆ ส่วนมากจะไม่สามารถจบในช้อตเดียวได้ จากภาพตัวอย่างจะพบว่าเมื่อพยายามจบภายในช้อตเดียว เตนท์ซึ่งเ ป็นส่วนสว่างจะหลุดไฮท์ไลท์ไปเลย และไม่สามารถกู้คืนได้

 
      ปกติหากกล้องมี Dynamic range กว้างมากๆ เราสามารถเก็บทั้งส่วนมืดและส่วนสว่างได้ในช้อตเดียว ซึ่งการเก็บภาพแนวนี้มีเทคนิคคือ ถ่ายเก็บไฮไลท์ให้ครบ แล้วค่อยมาดึงส่วนมืดหรือ shadow ขึ้นทีหลัง(คือถ่ายังไงก็ได้ไม่ให้ไฮท์ไลท์หลุดจนกลายเป็นสีขาวเวอร์ เรียกเทคนิคนี้่ว่า Expose to the right) เพราะถ้าถ่ายมาหลุดไฮท์ไลท์ส่วนมากจะมาแก้ไขโดยการ recovery ได้ยากมากๆ ส่วน shadow จะสามารถดึงขึ้นมาได้ง่ายกว่ามาก
ซึ่งการแก้ปัญหาสำหรับการถ่ายภาพแนวนี้สำหรับผมเลยคือ ถ่ายภาพหลายๆช้อต แล้วนำภาพมารวมกันในโปรแกรมเอา ซึ่งข้อดีนอกจากแสงจะไม่โอเวอร์แล้ว ยังช่วยให้ภาพค่อนข้างใส นอยส์ไม่ค่อยมีเนื่องจากไม่ต้องขุดส่วนมืดเยอะ

เทคนิคคือพยายามถ่ายเพื่อเก็บภาพหลายๆช้อต เพื่อที่จะได้มีวัตถุดิบไว้เลือกทำได้ในภายหลัง


       จากภาพด้านบนจะเห็นว่าผมถ่ายภาพไว้หลายช้อตมาก ทั้งเปิดและปิดไฟที่เตนท์ เพิ่ม ลด สปีดชัตเตอร์ แต่หลักๆเลย เพื่อให้ง่ายต่อการนำภาพมาทำภายหลังคือต้องใช้ขาตั้งกล้อง (แหม่ สภาพแสงอย่างงี๊มันก็ต้องใช้ขาตั้งกล้องมั๊ย 😆😆 บอกเผื่อไว้กรณีประยุกต์ใช้กับสถานการณ์อื่น จะได้ไม่เสียเวลามาทำให้ภาพมันซ้อนกันพอดี)
      หลังจากถ่ายจนพอใจแล้วก็เข้านอนได้ เพราะไม่มีคอมทำภาพ ต้องเอากลับมาทำที่เมืองไทย ฮาาาาา (ลืมบอกไป ผมกางเตนท์นอนที่ริมทะเลสาบนี้เลย อุณหภูมิ -30 องศาเซลเซียส ไม่ได้นอนทั้งคืนเลอ หนาวแทบขาดใจ 😂😂😂 )
พอกลับมาถึงไทย ผมก็มานั่งคัดรูปที่ต้องการ เพื่อเอามาทำต่อ

สองภาพที่ผ่านการคัดเลือก ซึ่งภาพซ้ายมือผมเลือกให้เป็นภาพหลัก และภาพขวามือเป็นภาพเสริม

จากนั้นก็เริ่มทำใน Lightroom

diagram การทำภาพใน Lightroom


      ภาพด้านบนเป็น diagram การทำภาพ ซึ่งผมถือเป็นภาพหลัก เนื่องจากองค์ประกอบทุกอย่างค่อนข้างสมบูรณ์แล้ว ยกเว้นแต่ไม่มีไฟเตนท์เท่านั้น

ซึ่งหลังจากทำเสร็จแล้ว ให้นำภาพมาทำต่อใน Photoshop (ถ้าเปิดจาก LR ให้เลือกสองภาพ โดยกด cmd ค้างไว้ จากนั้น คลิ๊กขวา edit in > open as layer in Photoshop

ปิดภาพใน Photoshop และเลือกให้ภาพเตนท์เปิดไฟอยู่ด้านบน ซึ่งจากภาพเราใช้ขาตั้งกล้องอยู่แล้ว เลยไม่จำเป็นต้อง มาเสียเวลา align layer

mask

      หลังจากซ้อนภาพ ก็ให้ทำการ mask เพื่อบังภาพด้านบนไว้ จากนั้นก็ทำการใช้ brush tool เพื่อระบายเปิดภาพในส่วนที่ต้องการที่ถูกบังไว้ ซึ่งต้องใช้ความอดทนและพยายามในการระบายกันหน่อย เพราะภาพสองภาพที่ซ้อนกันจะเนียนหรือไม่เนียนมันอยู่ตรงนี้นี่เอง

Final image

 

        ภาพสุดท้ายเนียนใส ไร้นอยส์ ซึ่งจริงๆแล้วเทคนิคการ mask แบบนี้เป็นแบบพื้นฐานที่เข้าใจง่าย และใช้ง่ายที่สุดแล้ว แต่หากอยากให้ภาพเนียนกว่านี้อีก หรือเสียเวลาน้อยกว่านี้แล้วจะมีเทคนิคอีกอย่างซึ่งเรียกว่า Lumiosity mask (แล้วจะมาเล่าให้ฟังภายหลังครับ)

 

  วันนี้ ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามครับ -/\-

0 responses on "เทคนิคการรวมดาวและแสงไฟในภาพแลนด์สเคป (Blending) ด้วย Photoshop"

Leave a Message

Your email address will not be published.

top
Copyright © 2021 PhotoHackz